วันอาทิตย์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2552

จำปี



รูปลักษณะ

ไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูง 15-20 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนานแกมใบหอก หรือรูปไข่ กว้าง 4-9 ซม. ยาว 15-25 ซม. ดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ กลีบรวม สีขาว กลิ่นหอม ผลเป็นผลกลุ่ม ผลย่อยรูปร่างเกือบเป็นทรงกลม แต่มักไม่


สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา

ดอก - ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ บำรุงประสาท บำรุงโลหิต

กลีบดอกสด - มีน้ำมันหอมระเหย ใช้ทาแก้ปวดศีรษะ

ดอกและผล - บำรุงธาตุ แก้คลื่นเหียน แก้ไข้ ขับปัสสาวะ เปลือกต้น - แก้ไข้ แก่น - บำรุงประจำเดือน

ข่อย


รูปลักษณะ

ไม้ยืนต้น มีน้ำยางขาว สูง 5-15 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่แกมขอบขนาน รูปวงรี หรือรูปไข่กลับ กว้าง 2-4 ซม. ยาว 4-8 ซม. ผิวใบสากคาย ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ แยกเพศอยู่คนละต้น ช่อดอกตัวผู้เป็นช่อกลม ช่อดอกตัวเมียออกเป็นกระจุกมี 2-4 ดอกย่อย กลีบดอกสีเหลือง ผลสด รูปไข่ เมื่อสุกสีเหลือง



สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา


เปลือกต้น - แก้โรคผิวหนัง รักษาแผล หุงเป็นน้ำมันทารักษาริดสีดวงทวาร รักษารำมะนาด แก้ท้องร่วง เมล็ด ผสมกับหัวแห้วหมู เปลือกทิ้งถ่อน เปลือกตะโกนา ผลพริกไทยแห้งและเถาบอระเพ็ด ดองเหล้าหรือต้มน้ำดื่ม เป็นยาอายุวัฒนะ

ยกย่องน้ำผลทับทิมคั้น


คณะนักวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียของสหรัฐฯ ยกย่องสรรพคุณของน้ำผลทับทิมคั้น ในทางบำรุงเลือดลมว่า ไม่แพ้ยา “ไวอากร้า” อันเป็นยาแก้อาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศของบุรุษ หน่วยงานวิจัยด้านมะเร็งนานาชาติ


ซึ่งเป็นองค์กรในสังกัดขององค์การอนามัยโลก ประกาศจะขึ้นบัญชีการทำงานกลางคืน เทียบเท่ากับว่าเป็นสารก่อมะเร็ง การตัดสินใจดังกล่าวเกิดขึ้นบนพื้นฐานการทบทวนงานวิจัยหลายชิ้นที่พบอัตราการเป็นมะเร็ง ทรวงอก และมะเร็งต่อมลูกหมากมากขึ้นในหมู่ชายหญิงที่ทำงานตอนกลางคืน สมาคมโรคมะเร็งกล่าวว่า จะดำเนินตามคำวินิจฉัยนั้น แต่ยังคงพิจารณาว่าความเชื่อมโยง ของมะเร็งจากการทำงานยังอยู่ในขั้น “ไม่แน่นอน” หรือ “ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้” เพราะอาจจะมีปัจจัยอื่นร่วมด้วยที่ทำให้เกิดปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเพิ่มขึ้น ในกลุ่มคนทำงานกะดึก เว็บไซต์ของสมาคมฯยังมีข้อสังเกตว่าสารก่อมะเร็งไม่เป็นเหตุ ให้เกิดมะเร็งเสมอไป ถ้าหากทฤษฎีการทำงานกลางคืนพิสูจน์ได้ในที่สุดว่าเป็นจริงนั้นจะทำให้คนเรือนล้านทั่วโลก ได้รับผลจากทฤษฎีนี้ โดยผู้เชี่ยวชาญคาดประมาณว่าเกือบ 20 เปอร์เซ็นต์ ของประชากรวัยทำงานในประเทศพัฒนาแล้วเป็นคนทำงานกะกลางคืน เหตุผลที่นักวิทยาศาสตร์คาดหมายถึงความเชื่อมโยงระหว่างการทำงานกะดึกกับการเกิดมะเร็ง เพราะว่ามันเข้าไปขัดจังหวะการทำงานของนาฬิกาชีวภาพในร่างกาย และฮอร์โมนเมลาโทนิน ซึ่งสามารถกดการเติบโตของก้อนเนื้อนั้น โดยปกติจะมีการผลิตขึ้นมาในเวลากลา

กระเทียม (แก้หวัด,ช่วยย่อย)


ส่วนประกอบ :

- โปรตีน คาร์โบไฮเดรต แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก

- วิตามินซี วิตามินบี1 และบี 2 - มีน้ำมันหอมระเหย มีสารประกอบมากกว่า 200 ชนิด

- ประกอบด้วยอินทรีย์กำมะถันหลายชนิด เช่น อัลลิซิน (allicin) 0.6-1.0%

- อัลลิอิน (alliin) ไดอัลลิลไดซัลไฟด์ (diallyl disulfide)

- เมททิลอัลลิลไตรซัลไฟด์ (methyl allyl trisulfide) คูมาริน (coumarin)

- เอสอัลลิลซีสทีอีน (S-allylcysteine) เป็นต้น

- มีเอนไซม์หลายชนิด เช่น อัลลิเนส (allinase) เปอรอกซิเดส (peroxidase) - อินเวอร์เทส (invertase) และไทโรซิเดส (tyrosidase) - มีน้ำมัน 0.1 - 0.4 %



ในยาแผนโบราณใช้กระเทียมเป็นยาบำบัดอาการไอ แก้ไข้หวัด แก้หลอดลมอักเสบเรื้อรัง ช่วยย่อย แก้ความดันสูง เส้นเลือดเปราะ แก้โรคท้องเสีย ขับลม และขับเหงื่อ มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับฤทธิ์ของกระเทียมในด้านการรักษา ได้แก่ การช่วยลดปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือด ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดอุดตันและกล้ามเนื้อหัวใจหยุดทำงานเฉียบพลัน ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยเพิ่ม HDL หรือคอเลสเตอรอลชนิดดีในเลือด ช่วยลดปริมาณน้ำตาลในเลือด ลดไตรกลีเซอไรด์ เพิ่มการไหลเวียนของเลือด พบว่ากระเทียมช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรควัณโรค คอตีบ ปอดบวม ไทฟอยด์ และคออักเสบได้ มีสารต้านมะเร็ง เช่น สาร S-allylmercaptocysteine ลดการเกิดมะเร็งในต่อมลูกหมาก (50%) ช่วยเพิ่มความจำ และช่วยรักษาโรคกลากเกลื้อน สาร allyl sulfides ช่วยลดการผลิตเอนไซม์ phase 1 ซึ่งเป็นอันตรายต่อเซลล์ และนำไปสู่การเกิดเซลล์มะเร็ง จึงป้องกันการเกิดเซลล์มะเร็งได้ดีเยี่ยมสารนี้ในกระเทียมจะมีขึ้นเมื่อทุบให้แตกก่อนแล้ววางไว้ 10 นาทีก่อนจะนำไปใช้ มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอการเกิดโรคเสื่อมต่างๆ และโรคของหลอดเลือด ผู้ป่วยเบาหวาน มะเร็ง และเอดส์น่าใช้ประจำ ช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน (กินวันละ 5-7 กลีบ) และใช้ควบคุมระดับคอเลสเตอรอล วันละ 2 กลีบ) ข้อควรระวัง : ไม่ควรกินกระเทียมขณะท้องว่างเพราะอาจระคายเคือง เกิดคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้องได้ ก่อนเข้ารับการผ่าตัด ควรงดรับประทานสัก 3- 4 วัน เพราะจะทำให้เลือดออกง่ายและหยุดไหลช้ากว่าปกติ มารดาที่ให้นมลูก หากกินมากเกินไปอาจทำให้ลูกเป็นโรคร้องสามเดือน (Colic) หมายเหตุ : ต้นกระเทียม ปลูกแล้วถอนมาใช้ตั้งแต่ยังไม่เป็นหัว ส่วน Leeks เป็นกระเทียมอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งต้นใหญ่กว่า กินต้นและใบได้ มีโพเลท 30 % มีเหล็ก และวิตามินซีอย่างละ 20% Aged garlic ผลิตโดยเทคนิคใหม่ของญี่ปุ่น ช่วยลดกลิ่นและสารอื่นๆ ที่ไม่ต้องการออก แต่มีสารเสริมภูมิต้านทานของร่างกาย โดยเสริมการทำงานของเซลล์ macrophages เซลล์ T-lymphocyte และ การสร้างแอนติบอดี มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อไวรัส แบคทีเรีย และเชื้อรา ต่อมาพบว่ากระเทียมสด แห้ง และสกัด ล้วนมีประโยชนเช่นเดียวกัน

กระเจี๊ยบ กระเจี๊ยบเปรี้ย ผักเก็งเค็ง ส้มเก็งเค็ง ส้มตะเลงเครง


กลีบเลี้ยงของดอก หรือกลีบที่เหลืออยู่ที่ผล เป็นยาลดไขมันในเส้นเลือด และช่วยลดน้ำหนักด้วย ลดความดันโลหิตได้โดยไม่มีผลร้ายแต่อย่างใด น้ำกระเจี๊ยบทำให้ความเหนียวข้นของเลือดลดลง ช่วยรักษาโรคเส้นโลหิตแข็งเปราะได้ดี น้ำกระเจี๊ยบยังมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ เป็นการช่วยลดความดันอีกทางหนึ่ง ช่วยย่อยอาหาร เพราะไม่เพิ่มการหลั่งของกรดในกระเพาะ เพิ่มการหลั่งน้ำดีจากตับ เป็นเครื่องดื่มที่ช่วยให้ร่างกายสดชื่น เพราะมีกรดซีตริคอยู่ด้วย ใบ แก้โรคพยาธิตัวจี๊ด ยากัดเสมหะ แก้ไอ ขับเมือกมันในลำคอ ให้ลงสู่ทวารหนัก ดอก แก้โรคนิ่วในไต แก้โรคนิ่วในกระเพราะปัสสาวะ ขัดเบา ละลายไขมันในเส้นเลือด กัดเสมหะ ขับเมือกในลำไส้ให้ลงสู่ทวารหนัก ผล ลดไขมันในเส้นเลือด แก้กระหายน้ำ รักษาแผลในกระเพาะ เมล็ด บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง แก้ดีพิการ ขับปัสสาวะ ลดไขมันในเส้นเลือด นอกจากนี้ได้บ่งสรรพคุณโดยไม่ได้ระบุว่าใช้ส่วนใด ดังนี้คือ แก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ แก้ดีพิการ แก้ปัสสาวะพิการ แก้คอแห้งกระหายน้ำ แก้ความดันโลหิตสูง กัดเสมหะ แก้ไอ ขับเมือกมันในลำไส้ ลดไขมันในเลือด บำรุงโลหิต ลดอุณหภูมิในร่างกาย แก้โรคเบาหวาน แก้เส้นเลือดตีบตัน นอกจากใช้เดี่ยวๆ แล้ว ยังใช้ผสมในตำรับยาร่วมกับสมุนไพรอื่น ใช้ถ่ายพยาธิตัวจี๊ด วิธีและปริมาณที่ใช้ : โดยนำเอากลีบเลี้ยง หรือกลีบรองดอกสีม่วงแดง ตากแห้งและบดเป็นผง ใช้ครั้งละ 1 ช้อนชา (หนัก 3 กรัม) ชงกับน้ำเดือด 1 ถ้วย (250 มิลลิลิตร) ดื่มเฉพาะน้ำสีแดงใส ดื่มวันละ 3 ครั้ง ติดต่อกันทุกวันจนกว่าอาการขัดเบาและอาการอื่นๆ จะหายไปสารเคมี ดอก พบ Protocatechuic acid, hibiscetin, hibicin, organic acid, malvin, gossypetinคุณค่าด้านอาหาร น้ำกระเจี๊ยบแดง มีรสเปรี้ยว นำมาต้มกับน้ำ เติมน้ำตาล ดื่มแก้ร้อนใน กระหายน้ำ และช่วยป้องกันการจับตัวของไขมันในเส้นเลือดได้ และยังนำมาทำขนมเยลลี่ แยม หรือใช้เป็นสารแต่งสี ใบอ่อนของกระเจี๊ยบเป็นผักได้ หรือใช้แกงส้ม รสเปรี้ยวกำลังดี กระเจี๊ยบเปรี้ยวมีชื่อเรียกอีกชื่อว่า "ส้มพอเหมาะ" ในใบมี วิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตา ส่วนกลีบเลี้ยงและกลีบดอก มีสารแคลเซียม ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง น้ำกระเจี๊ยบแดงที่ได้สีแดงเข้ม สาร Anthocyanin นำไปแต่งสีอาหารตามต้องการ

สะระแหน่...คุณค่าที่มักมองข้าม


สะระแหน่ ผักชนิดนี้มักถูกนำมาประดับอาหารประเภท ลาบ ยำ อยู่บ่อย ๆ จนหลายคนคิดว่าสะระแหน่เป็นไม้ประดับจริง ๆ เพราะมักถูกวางทิ้งไว้ข้างจาน อย่างน่าเสียดายประโยชน์ที่มีอยู่ในตัว
ประโยชน์ที่ว่า คือ
สะระแหน่ใช้เป็นยาดับร้อน ถอนพิษไข้ ขับลม ขับเหงื่อ รักษาอาการ หวัดได้ และยังสามารถแก้อาการ ปวดท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อได้ และหากนำน้ำ ที่คั้นจากต้น และใบมาใช้ดื่ม ก็จะช่วยขับลมในกระเพาะได้ หรือใครจะกินสด ๆ เพื่อดับกลิ่นปากก็ยังได้
นอกจากนี้ การบริโภคสะระแหน่ ยังช่วยให้สมองปลอดโปร่ง โล่งคอ ป้องกัน ไข้หวัด บำรุงสายตา และช่วยให้หัวใจแข็งแรง
หากใครมีอาการปวดศีรษะ ปวดฟัน เจ็บคอ เจ็บปาก เจ็บลิ้น ก็ให้ดื่มน้ำต้มใบสะระแหน่ 5 กรัม กับน้ำ 1 ถ้วย ผสมเกลือเล็กน้อย วันละ 2 ครั้ง น้ำต้มใบสะระแหน่ ยังสามารถรักษา อาการบิดท้องร่วง อุจจาระเป็นเลือด
ส่วนการแก้พิษ แมลงสัตว์กัดต่อย
ทำได้โดยตำใบ สะระแหน่ให้ละเอียด แล้วพอกบริเวณ ที่โดนกัด อย่าลืมว่า ใบสะระแหน่ ที่สดและอ่อน จะมีคุณค่ามากกว่าใบสะระแหน่แห้ง รู้แบบนี้แล้ว อย่าปล่อยให้สะระแหน่เป็นเพียงไม้ประดับจานอีกต่อไป จงจัดการให้เรียบ อย่าให้เหลือ ไม่งั้น เสียดายแย่